Categories
ชูก้าไรเดอร์

การดูแลชูก้าไรเดอร์ ผ่านการทำความรู้จักนิสัยของน้อง

การดูแลชูก้าไรเดอร์ ให้ดีได้นั้น เราควรทำความรู้จักลักษณะนิสัยของน้องเสียก่อน โดยลักษณะนิสัยที่คนเลี้ยงควรทราบ คือ น้องเป็นสัตว์หากินและกระโดดเล่นในตอนกลางคืน กลางวันน้องถึงจะเข้านอนในโพรงหรือที่อยู่ บางครั้งน้องจะส่งเสียงเห่าแบบสุนัขตัวเล็ก แต่น้องเป็นสัตว์ประเภทขับถ่ายอึ, ปัสสาวะไม่เป็นที่ และเป็นสัตว์ประเภทที่เราไม่สามารถไปสั่งสอนเขาได้ ทั้งนี้กลิ่นของเสียจากร่างกายของน้องไม่มีกลิ่นเหม็น แต่ก็ควรดูแลให้มีถาดเอาไว้สำหรับรองอึและฉี่ของน้อง และควรจะหมั่นทำความสะอาด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค

การดูแลชูก้าไรเดอร์ แต่ละช่วงอายุมีวิธีที่แตกต่างกันออกไป

การดูแลชูก้าไรเดอร์ในช่วงวัยแรกเกิด ไปจนถึง 3 เดือน คือช่วงที่ต้องดูแลมากเป็นพิเศษ จำเป็นที่จะต้องให้นมกับน้อง 4 มื้อ จะให้อาหารอื่นไม่ได้ เพราะไม่สามารถย่อยอาหารอื่นได้ และจะต้องสังเกตว่าน้องมีอาการท้องเสียหรือไม่ เมื่อมีอายุมากกว่า 4 เดือน เราจะเลี้ยงน้องได้ง่ายมากขึ้น เพราะน้องสามารถกินผลไม้ที่มีรสหวานได้ โดยของโปรดของน้องจะเป็นกล้วยน้ำว้า แอปเปิ้ล

นอกจากนี้ยังเริ่มให้น้องกินแมลงต่างๆ ได้อีกด้วย โดยผู้เลี้ยงจะต้องค่อยๆ ปรับมื้ออาหารให้ลดลงเหลือ 2 มื้อหลัก เช้าและเย็น ส่วนช่วงกลางวันก่อนน้องนอนจึงให้ขนมหรือผลไม้ ในกรณีที่อยากพกพาน้องออกไปไหนด้วยหรือจำเป็นต้องพาไป เราจะต้องดูแลนำตัวน้องใส่ลงไปในกระเป๋าสำหรับใส่ตัวชูก้าไรเดอร์ โดยภายในกระเป๋าจะต้องมีผ้าไว้สำหรับให้น้องนอนอีกด้วย

การดูแลเรื่องสุขอนามัยของน้องชูก้าไรเดอร์

ผู้เลี้ยงจะต้องหมั่นเช็ดทำความสะอาดร่างกายน้อง เพราะน้องมีกลิ่นค่อนข้างแรง โดยการเช็ดตัวทำได้ด้วยการนำผ้าเปียกหรือสำลีไปชุบน้ำเช็ด แล้วจึงเช็ดด้วยผ้าทำให้ตัวน้องแห้ง อาจจะใช้สเปรย์ดับกลิ่น ที่ไม่เป็นอันตรายกับน้องได้เช่นกัน อีกเรื่องคือน้องมีเล็บที่ยาว จำเป็นจะต้องใช้กรรไกรตัดเล็บตัดออกไป กรรไกรตัดเล็บอาจใช้แบบเดียวกับของคนเราได้ หรือจะหาซื้อแบบเฉพาะของน้องชูก้าไรเดอร์ก็สามารถหาซื้อได้ นอกจากนี้เรื่องของฟันก็จะต้องดูแลไม่ให้ฟันน้องมีคราบที่สะสม เพราะอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับช่องปากได้ หากทำการดูแลชูก้าไรเดอร์  ได้ครบตามนี้ สุขอนามัยของน้องก็ดีเยี่ยม ไม่น่าเป็นห่วง

Categories
ชูก้าไรเดอร์

สังเกต โรคของชูก้าไรเดอร์ อย่างไร จึงจะรู้ว่าน้องป่วย

คนเลี้ยงควรรู้โรคของชูก้า

เริ่มต้นก่อนที่เราจะไปรู้จัก โรคของชูก้าไรเดอร์ เราต้องทราบวิธีการสังเกตุพฤติกรรมชูก้าก่อนว่า หากพบอาการดังต่อไปนี้ นั้นหมายความาน้องกำลังรู้สึกเจ็บป่วย โดยอาการที่ว่าคือ น้องจะมีน้ำมูกไหล จาม อาเจียร และเริ่มหายใจติดขัด ให้สังเกตการขับถ่ายของน้อง หากมีอาการท้องผูก ท้องเสีย หรือลักษณะท่าทางในการเดินผิดไปจากเดิม เดินไม่ไหว หรือเอาแต่นอนซึม ไม่มีอาการร่าเริงตามปกติ พฤติกรรมอาการเหล่านี้แสดงให้เราเห็นว่าน้องอาจจะกำลังป่วยจากโรคใดโรคหนึ่งอยู่ ควรที่จะพาไปพบสตวแพทย์เฉพาะทางเพื่อหาสาเหตุของ โรคของชูก้าไรเดอร์ และทำการรักษาต่อไป

โรคติดต่อชูก้า

โรคติดต่อของน้องชูก้าไรเดอร์ที่เกิดจากการได้รับไวรัส

  1. โรคหวัดหรือไข้          

โรคของชูก้าไรเดอร์ อันดับแรกๆที่เกิดขึ้นได้ คือ โรคหวัดหรือมีอาการไข้ ซึ่งมีสาเหตุสืบเนื่องมาจากการได้รับเชื้อไวรัสหรือเป็นไปได้ว่าน้องอาจได้รับความเย็นในที่อยู่อาศัย ตัวเปียกแล้วไม่แห้งเป็นเวลานานๆ สาเหตุเหล่านี้ทำให้น้องป่วยมีไข้ เป็นหวัด ชูก้าหายใจมีเสียง เกิดอาการจมูกชื้นและเปียก จามบ่อย  สิ่งที่คนเลี้ยงจะสามารถทำเพื่อรักษาอาการได้ในเบื้องต้น คือ คุณจะต้องทำการเสริมวิตามินซีให้น้อง ด้วยกีวี่หรือส้ม แล้วจึงพาน้องไปหาสัตว์แพทย์เฉพาะทาง

2.โรคท้องเสียหรือโรค Aflatoxicosis

            ต่อไปคือโรคท้องเสียหรือโรค Aflatoxicosis ที่มีสาเหตุการเกิดจากแบคทีเรียที่มีอยู่ในอาหารค้างคืน หรือกินอาหารที่มีเชื้อราเข้าไป อาจพบจากอาหารจำพวกผัก ผลไม้ เมล็ดต่างๆ  รวมไปถึงอาการชูก้า ขาดน้ำ อาจใช้ dropper ให้น้ำทุก 15 นาที แล้วรีบพาไปหาสัตวแพทย์โดยด่วน

3.โรค Dehydration

เกิดเป็นโรค Dehydration จะทำให้น้องมีอาการตัวแห้ง ซึม ไม่มีเรี่ยวแรง ไม่ยอมกินอาหาร และตาบวม น้ำในร่างกายไม่เพียงพอ โรคนี้อาจอันตรายถึงขั้นทำให้น้องตายได้ ดังนั้น หากน้องมีอาการเราจะต้องทำการบังคับหยดน้ำ ทั้งนี้ก่อนการเกิดโรคเราสามารถป้องกันได้โดยให้อาหารที่สะอาด หากให้หนอนหรือจิ้งหรีดจะต้องไม่มีเชื้ออื่นปนเปื้อน และไม่ควรให้น้องกินถั่ว เพราะพบเชื้อราในถั่วได้ง่ายมากที่สุด

โรคที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการเลี้ยงน้องผิดๆ ของผู้เลี้ยงเอง

1.โรคอ้วน

            บางครั้งโรคบางอย่างก็เกิดมาจากสาเหตุของผู้เลี้ยงเองที่เลี้ยงน้องชูก้าไรเดอร์ไม่ถูกวิธี ตัวอย่างเช่น การที่ผู้เลี้ยงมีพฤติกรรมการให้อาหารกับน้องในปริมาณที่มากจนเกินไป และเน้นการให้อาหารที่มีไขมัน เมื่อไขมันเกิดการสะสมมากๆ จะทำให้น้องป่วยเป็นโรคอ้วน และจะส่งผลอันตรายจึงขั้นทำให้น้องตาบอดได้ เพราะไขมันจะไปสะสมไว้ในดวงตา และอาจกดทับปอด รวมถึงอวัยวะต่างๆ จนทำให้ภูมิคุ้มกันภายในร่างกายของน้องลดลง วิธีแก้ไขป้องกันคือ เราจะต้องชวนน้องเล่น ให้น้องได้รู้จักออกกำลังกายและควบคุมอาหารที่มีไขมัน จึงจะช่วยป้องกันการเกิดโรคอ้วนได้

  • โรคเครียด  

โรคเครียด  มีสาเหตุมาจากการย้ายหรือปรับเปลี่ยนที่อยู่ของน้อง ส่งผลให้น้องรู้สึกไม่ปลอดภัย หรือน้องอาจรู้สึกกังวลว่าตนกำลังตกอยู่ในอันตราย โดยอาการที่สังเกตได้ คือ การกินที่เปลี่ยนไป อาเจียน หรือดุร้ายขึ้น เราสามารถป้องกันโรคนี้ได้ผ่านการปล่อยให้เขาอยู่อย่างสงบ เล่นกับน้องบ่อยๆ และหาอาหารที่ดีให้กับน้อง ไม่ปรับเปลี่ยนสถานที่อยู่ของน้องแบบกะทันหัน