แมวเบงกอล สายพันธุ์แมว ที่สวย และมีลวดลายเป็นเอกลักษณ์

หากคุณเป็นคนที่ชื่นชอบแมวที่มีขนสวยและเป็นเอกลักษณ์ แมวเบงกอล อาจจะเป็นแมวอีกสายพันธุ์หนึ่งที่คุณกำลังตามหา เนื่องจาก สายพันธุ์แมว นี้เป็นแมวที่มีลวดลายคล้ายเสือ ซึ่งเราเชื่อว่าเมื่อคุณได้เห็นเป็นต้องสะดุดตากับลวดลายของมันอย่างแน่นอน และในวันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับแมวเบงกอลตัวนี้มากขึ้น ซึ่งจะมีความน่าสนใจขนาดไหน เราไปดูพร้อมกันเลย

ประวัติ และข้อมูลที่น่าสนใจของ แมวเบงกอล

แมวเบงกอล เป็น สายพันธุ์แมว ที่ถือกำเนิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา โดย Jean Mills เป็นผู้ที่ริเริ่มและทำการเพาะพันธุ์แมวเบงกอลขึ้นเป็นคนแรก ซึ่งประวัติของแมวเบงกอล เป็นแมวที่ Jean Mills ใช้เวลามากกว่า 20 ปี กว่าจะได้แมวที่มีความสวยงามเช่นนี้ ในการเพาะพันธุ์ ซึ่งเบงกอลนั้น เป็นแมวที่ผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ระหว่าง แมวบ้าน และ แมวดาว (Asian Leopard Cat) จนได้แมวเบงกอล โดยเรียกตามชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Felis Bengalensis นั่นเอง

โดยลักษณะนิสัยของเบงกอล จะเป็นแมวที่มีสัญชาตญาณความเป็นนักล่าในตัวค่อนข้างสูง มีความว่องไว พลังเยอะ ชอบเล่น ชอบปีนป่าย ซึ่งเป็นจุดเด่นที่อาจจะได้จากแมวดาว (Asian Leopard Cat) ที่สำคัญยังมีทั้งความฉลาด ช่างสังเกตอีกด้วย

นอกจากนี้ แมวเบงกอลบางตัวอาจจะมีนิสัยค่อนข้างที่จะดุ เนื่องจากเบงกอลนั้นยังนับว่าเป็นสัตว์ป่า อาจจะมีความดุร้ายที่ซ่อนอยู่ในตัวเป็นเรื่องปกติ แต่หากผู้เลี้ยงนั้น ฝึกฝนและเลี้ยงอย่างถูกวิธี ก็จะทำให้น้องแมวเบงกอลนั้น เป็นแมวที่น่ารัก และเข้ากับคนได้ดี ไม่แพ้แมวสายพันธุ์อื่น ๆ เลย

ราคา และฟาร์มแมวเบงกอล ในเมืองไทย

สำหรับใครที่อยากเลี้ยงแมวเบงกอลสักตัว แต่ยังไม่ทราบว่าจะไปหาฟาร์มหรือข้อมูลเกี่ยวกับราคาของแมวเบงกอลได้จากที่ไหน วันนี้เราได้นำข้อมูลเหล่านั้นมาให้กับทาสแมวทุกคนแล้วค่ะ โดยฟาร์มแมวเบงกอล ในไทยนั้นมีหลายฟาร์มด้วยกัน เช่น ONCE Bengals ฟาร์มแมว เบงกอล และ SILVERSQUAD เป็นต้น  โดยแมวเบงกอล ราคา 2564 จะอยู่ที่ประมาณ 15,000 – 150,000 บาท หรืออาจจะสูงกว่านั้น แต่หากพบการประกาศขายแมวที่มีราคาอยู่ในหลักพันต้น ๆ ซึ่งเห็นได้เป็นจำนวนมาก ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่า อาจจะไม่ใช่แมวเบงกอลสายพันธุ์แท้ เนื่องจากสายพันธุ์แมว แท้นั้น จะเป็นแมวที่มีราคาแพงติดอันดับโลก ดังนั้นจึงเป็นไปได้ค่อนข้างยากที่แมวสายพันธุ์นี้จะมีราคาอยู่ในหลักพันบาทไทยนั่นเองค่ะ นอกจากนี้การตรวจสอบข้อมูลของฟาร์มที่เพาะเลี้ยงก็เป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากฟาร์มแต่ละฟาร์มก็จะมีมาตรฐานที่แตกต่างกัน ดังนั้นการที่ฟาร์มเพาะเลี้ยงนั้น ๆ มีใบรับรองจะดีที่สุด

Related Posts